การซื้อกิจการประวัติศาสตร์ระหว่าง Marriott International กับกลุ่ม Starwood ส่งผลให้ธุรกิจที่ผ่านการควบรวมแล้ว มีโรงแรมมากถึง 30 แบรนด์ ซึ่งแน่นอนว่าลูกค้าต้องงงกันไปข้าง ว่าตกลงโรงแรมแบรนด์ไหนอยู่ระดับไหนกันแน่ (เราเชื่อว่าคนของ Marriott เองก็ต้องงง)
ทาง Marriott เลยทำชาร์ตแสดงตำแหน่งของแบรนด์ทั้งหมด 30 แบรนด์มาให้ดูเปรียบเทียบกันง่ายๆ
จากภาพจะเห็นว่าตารางแยกเป็น 2 แกน ในแนวตั้งจะแยกเป็นแนวทางของโรงแรม ว่าเป็นโรงแรมคลาสสิคสายมาตรฐาน (Classic) หรือเป็นโรงแรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร (Distinctive)
ส่วนแนวนอนจะเป็นระดับความหรูหราของโรงแรม 3 ระดับคือ Luxury, Premium และ Select โดยมีโรงแรมในกรอบสีพิเศษที่เป็นแบบ Longer Stays จับตลาดแขกที่ไปพักอยู่ยาวๆ นานๆ
แบ่งหมวดตามแผนภาพก็จะได้ดังนี้
1. Luxury (โรงแรมหรู)
แยกเป็น Classic Luxury และ Distinctive Luxury
Classic Luxury
- The Ritz-Carlton
- St. Regis
- JW Marriott
Distinctive Luxury
- Ritz-Carlton Reserve
- W Hotels
- The Luxury Collection
- Bulgari
- Edition
2. Premium (โรงแรมระดับปานกลาง)
แยกเป็น Classic Premium และ Distinctive Premium
Classic Premium
- Marriott
- Sheraton
- Marriott Vacation Club
- Delta Hotels
- Marriott Executive Apartments (Longer Stays)
Distinctive Premium
- Le Meridien
- Westin
- Autograph Collection Hotels
- Design Hotels
- Renaissance Hotels
- Tribute Portfolio
- Gaylord Hotels
3. Select (โรงแรมราคาประหยัด)
แยกเป็น Classic Select และ Distinctive Select
Classic Select
- Courtyard Hotels
- Four Points
- SpringHill Suites
- Protea Hotels
- Fairfield Inn & Suites
- Residence Inn (Longer Stays)
- TownePlace Suites (Longer Stays)
Distinctive Select
- AC Hotels
- Aloft Hotels
- Moxy Hotels
- element
ต้องไม่ลืมว่า ตอนนี้ระบบสะสมแต้มของ Marriott (Rewards) และ Starwood (SPG) ยังแยกกันอยู่ แต่ลูกค้าที่ไปพักสามารถเชื่อมบัญชีสะสมแต้มระหว่างทั้งสองค่ายได้
ข้อมูลจาก Marriott และ One Mile at a Time